กิจกรรม 24-28 มกราคม 2554



ตอบ 1.  2 เมตรต่อวินาทีกำลังสอง
วัตถุอยู่นิ่งหมายความว่าความเร็ว เริ่ม ต้นเป็น 0 เมตรต่อวินาที ถ้าเวลา 4 วินาที จะต้องเพิ่มความเร็วเท่าใดต่อ 1 วินาที จึงจะได้ 8 เมตรต่อวินาที ก็คือ เอาความเร็วปลายหารด้วยเวลาก็จะได้คำตอบเท่ากับ 2 เมตรต่อวินาทีต่อ 1 วินาที ก็คือ ความเร่งเท่ากับ 2 เมตรต่อวินาทีกำลังสอง ถ้าไม่แน่ใจก็ลองทำตามสูตรนะครับดังนี้
จากโจทย์ รถเคลื่อนที่จากหยุดนิ่งก็คือ ความเร็วต้น u = 0 m/s
เวลาในการเคลื่อนที่ t = 4 s
ความ เร็วปลายของรถยนต์ในการเคลื่อนที่ v = 8 m/s
โจทย์ต้องการหาความเร่ง ของการเคลื่อนที่ คือ a
เพราะฉะนั้นสิ่งที่เรารู้คือ u = 0 m/s , t = 4 s , v = 8 m/s , a = ? m/s2
เราสามารถใช้สูตร v = u + at
8 = 0 + a(4)
a = 2 m/s2
ดัง นั้นคำตอบคือ ข้อ ก. 2 เมตรต่อวินาทีกำลังสอง 



ตอบ 3. 1.4 m/s
ข้อนี้ ต้องดูที่โจทย์ว่าถามหาอัตราเร็วหรือความเร็ว ถ้าเป็นอัตราเร็วเราใช้ระยะทางถ้าเป็นความเร็ว
เราใช้ระยะกระจัดถ้ายังไม่ ชัดเจนลองกลับไปทบทวนเรื่องระยะทางและระยะกระจัด
เราสามารถใช้สูตรการเคลื่อนที่ ด้วยอัตรา เร็วคงที่ได้เลย
              เมื่อ   s1 = 300 m , s2 = 400 m , t = 500 s , v = ? m/s
                  จะ ได้     v = (300 + 400)/500
v = 1.4 เมตรต่อวินาที
ระยะทางที่ใช้นะครับให้ใช้ระยะทางทั้งหมดที่เคลื่อนที่ได้เนื่องจากเป็นการ หาอัตราเร็วเป็นปริมาณ
สเกลาร์  ดังนั้นคำตอบคือข้อ ค.


ตอบ  4.ความเร็วในแนวระดับ
ปริมาณในการเคลื่อนที่แบบโพรเจคไทล์ นั้นเป็นปริมาณเวกเตอร์ยกเว้นเวลาที่เป็นปริมาณสเกลาร์ ดังนั้น ข้อ ก. จึงผิด ส่วนความเร็วในแนวราบในการเคลื่อนที่จะมีค่าคงตัว ดังนั้นข้อ ง. 



ตอบ 2.4 รอบ/วินาที 
เป็นการหาความถี่จาก การเคลื่อนที่แบบวงกลม ดังนั้นความถี่เท่ากับจำนวนรอบหารด้วยเวลา ดังนั้นจะได้เท่ากับ 4 รอบต่อวินาที ข้อ ข.



ตอบ 2.การเคลื่อนที่แบบวงกลมอัตราเร็วคงตัว
ตามความหมายของการ เคลื่อนที่และสมบัติ ของการเคลื่อนที่ต่าง ๆ เราสามารถตอบได้เลยว่า เป็นการเคลื่อนที่แบบวงกลม ที่บอกว่าอัตราเร็วของวัตถุจะเคลื่อนที่ตั้งฉากกับแรงที่เข้าสู่ศูนย์กลาง เสมอจึงจะทำให้วัตถุนั้นเคลื่อนที่แบบวงกลม ดังนั้นคำตอบคือ ข้อ ข. 


ตอบ 4.
                                 เมื่อ v คือ ความเร็วปลาย (เมตรต่อวินาที)
                                        u คือ ความเร็วเริ่มต้น (เมตรต่อวินาที)
                                        a คือ ความเร่ง (เมตรต่อวินาทีกำลังสอง)
                                        t คือ เวลา (วินาที)
                                        s คือ ระยะกระจัด (เมตร)


ตอบ 3.ตั้งฉากกับทั้งสนามไฟฟ้าและทิศการเคลื่อนที่ของแสง
สนามแม่เหล็ก สนามไฟฟ้า และทิศการเคลื่อนที่ของคลื่นแม่เหล็กจะต้องตั้งฉากกันและกันตามสมบัติของ คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ดังนั้นคำตอบคือ ข้อ ค. 


ตอบ 4
ตามธรรมดาของเข็มทิศจะหันขั้วเหนือไป ทางขั้วโลกใต้ ตามแรงดึงดูดของสนามแม่เหล็กโลก โดยขั้วเหมือนกันจะผลักกัน ส่วนขั้วต่างกันจะดูดกัน แต่ในที่นี้ใช้แม่เหล็กมาวางอยู่ใกล้ ๆ ซึ่งมีอำนาจมากกว่าขั้วแม่เหล็กโลกจึงมีผลทำเข็มทิศเบนไปตามอิทธิพลของแม่ เหล็ก ดังนั้นข้อนี้ตอบ ข้อ ง.


ตอบ 4.เคลื่อนที่ในทิศตรงข้ามกันโดยอนุภาค Q ไปทางเดียวกับสนามไฟฟ้า
จากกฎมือขวาที่ใช้กัน เราจะได้ว่า Q มีประจุเป็น + และถ้าเป็นประจุลบจะใช้มือซ้าย ถ้าเราลองนำมาแสดงทิศการเคลื่อนที่ของแต่ละสนามและประจุแล้วจะได้ตรงกับภาพ ที่ให้มา ดังสรุปได้ว่า Q เป็นประจุบวก เคลื่อนที่ในทิศเดียวกันกับสนามไฟฟ้า ส่วน P เป็นประจุลบเคลื่อนที่ตรงข้ามกับทิศของสนามไฟฟ้า ดังนั้นคำตอบคือ ข้อ ง.


ตอบ 3.รังสีแกมมา
อนุภาคที่ไม่เบนในสนาม แม่เหล็กหรือสนาม ไฟฟ้าคืออนุภาคที่ไม่มีประจุ อนุภาคแอลฟามีประจุ +2 มีมวล 4 อนุภาคบีตา มีประจุ +- 1 มีมวล 0 ส่วนรังสีแกมมา ไม่มีประจุไม่มีมวล จึงไม่เบนเมื่อเคลื่อนที่ผ่านสนามแม่เหล็กและสนามไฟฟ้า คำตอบคือ ข้อ ค.

2 ความคิดเห็น:

  1. ให้คะแนนตัวเองค่ะ

    1. ทำครบตามที่กำหนด ข้อละ 2 คะแนน = 20 คะแนน
    2. มีเฉลยให้ข้อละ 1 คะแนน = 10 คะแนน
    3. บอกที่มาของแหล่งข้อมูล ให้ 2 คะแนน( URL) = 0 คะแนน
    4. วิเคราะห์ข้อมูล สืบค้นได้ตรงประเด็นให้คะแนนตั้งแต่ 1 - 5 คะแนนตามความเหมาะสม = 50 คะแนน

    รวม 80 คะแนน

    ตอบลบ