กิจกรรม22-26 พฤศจิกายน 2553









ที่มา หินบะซอลต์ (Basalt) เป็นหินอัคนีพุ เนื้อละเอียด เกิดจากการเย็นตัวของลาวาที่มีความหนืดน้อย มีปริมาณซิลิกาอยู่ในช่วง 45-52 เปอร์เซ็นต์ มีสีเข้มเนื่องจากประกอบด้วยแร่ไพร็อกซีนเป็นส่วนใหญ่ อาจมีแร่โอลิวีนปนมาด้วย เนื่องจากเกิดขึ้นจากแมกมาใต้เปลือกโลก หินบะซอลต์หลายแห่งในประเทศไทยเป็นแหล่งกำเนิดของอัญมณี (พลอยชนิดต่างๆ) เนื่องจากแมกมาดันผลึกแร่ซึ่งอยู่ลึกใต้เปลือกโลก ให้โผล่ขึ้นมาเหนือพื้นผิว




ที่มา    การชนกันของแผ่นเปลือกโลกมีผลให้เปลือกโลกบางส่วนถูกดันให้โค้งตัวขึ้นกลายเป็นภูเขาสูง เช่การชนกันของแผ่นออสเตรเลียกับแผ่นยูเรเซียทำให้เกิดเทือกเขาหิมาลัยซึ่งอยู่ทางตอนเหนือของประเทศอินเดีย การชนกันของแผ่นเปลือกโลกยังทำให้บางส่วนของแผ่นเปลือกโลกมุดตัวเข้าสู่ใต้แผ่นเปลือกโลกอีกแผ่นหนึ่งและมุดเข้าไปหลอมเหลวในชั้นแมนเทิลทำให้แผ่นเปลือกโลกบางส่วนหายไปกลายเป็นหินหนืดเพิ่มมากขึ้นอีกทำให้เกิดแรงอัดสูงขึ้น หินหนืดจะแทรกตัวขึ้นตามรอยแยกที่มีอยู่จนเกิดภูเขาไฟระเบิดในที่สุด




ที่มา  หินดินดาน (อังกฤษ: Shale) เป็นหินตะกอนเนื้อเม็ด (clastic sedimentary rock) ที่มีเนื้อละเอียดมาก มีองค์ประกอบของโคลนที่มีแร่ดิน (clay minerals) ปนกับเศษแร่ที่มีขนาดทรายแป้ง โดยเฉพาะแร่ควอร์ตซ์ และแร่แคลไซต์ โดยจะมีสัดส่วนองค์ประกอบของแร่ที่แปรเปลี่ยนไปอย่างกว้างขวาง ลักษณะเด่นของหินดินดานนี้จะมีฟิสซิลิตี (fissility) ที่เห็นเป็นแนวรอยแตกขนานไปกับชั้นบางๆที่มักมีความหนาน้อยกว่า 1 เซนติเมตร ส่วนหินโคลน (mudstone) นั้นองค์ประกอบจะคล้ายกับหินดินดานแต่จะไม่แสดงลักษณะฟิสซิลิตี



ที่มา  มาดูความเสี่ยงการเกิดแผ่นดินไหวในประเทศไทยกันบ้าง เริ่มจากลักษณะแผ่นธรณีซึ่งไทยมีลักษณะเป็นติ่งอยู่ทางตอนใต้บนแผ่นธรณีขนาดใหญ่มาก เรียกว่ายูเรเซีย โดยส่วนของไทยและแถบอินโดจีนมีลักษณะเฉพาะ คือถูกแรงดันจากแผ่นอินเดีย-ออสเตรเลียทางตะวันตกและใต้ ถูกแผ่นฟิลิปปินส์และแปซิฟิกเคลื่อนเข้าหาจากทิศตะวันออก และถูกแรงต้านกลับจากจีนตอนใต้ จึงทำให้พื้นที่แถบนี้ค่อนข้างสมดุลและมีความเสถียรสูงกว่าพื้นที่อื่น ส่วนแรงเฉือนเกิดขึ้นบางพื้นที่เท่านั้น ทำให้พื้นที่ประเทศไทยมีความเสี่ยงต่อการเกิดแผ่นดินไหวระดับรุนแรงน้อยกว่าประเทศอื่นที่กล่าวมาแล้วมาก
http://news.impaqmsn.com/articles_hn.aspx?id=304394&ch=hn



ที่มา  
การเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลก (plate motion) คือลักษณะการเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลก 2 แผ่นที่อยู่ติดกัน สามารถจำแนกได้ออกเป็น 3 รูปแบบ ตามลักษณะการเคลื่อนที่สัมพัทธ์กันระหว่างแผ่นเปลือกโลกทั้งสอง ได้ดังต่อไปนี้
  • การเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลกแบบเคลื่อนผ่านกัน
  • การเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลกแบบเคลื่อนแยกจากกัน
  • การเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลกแบบเคลื่อนเข้าหากัน
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%81%E0%B8%9C%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B9%82%E0%B8%A5%E0%B8%81




ที่มา  หินตะกอน (อังกฤษ: sedimentary rock) คือ หินที่เกิดจากการตกตะกอนของเม็ดแร่ที่ได้จากการผุพังของหินชนิดใดก็ได้ที่ผิวโลก และถูกพัดพาไปโดย น้ำ ลม หรือธารน้ำแข็ง แล้วจับตัวกันแข็งเป็นหิน หรือ เกิดจากการตกตะกอนทางเคมีของสารละลายจากในน้ำ ในลำธาร ทะเล หรือมหาสมุทร เนื่องจากปฏิกิริยาทางเคมีหรือการระเหยของน้ำ ที่อุณหภูมิปกติบนผิวโลก ลักษณะเด่นของหินตะกอน คือ การเกิดเป็นชั้น อาจมีซากดึกดำบรรพ์ หรือแสดงลักษณะโครงสร้างของการตกตะกอนตามลำดับอายุ




ที่มา  
ชั้นเนื้อโลก (Mantle)
ชั้นเนื้อโลกเป็นชั้นที่อยู่ถัดจากชั้นเปลือกโลกลงไปจนถึงระดับความลึกประมาณ 2,900 กิโลเมตร ใต้ตำแหน่ง Moho 
ลงไป ความเร็วของคลื่นแผ่นดินไหวทั้งที่เป็นคลื่นปฐมภูมิและคลื่นทุติยภูมิเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งเป็นหลักฐานที่ทำให้เชื่อว่า
ชั้นเนื้อโลกประกอบไปด้วยส่วนประกอบที่มีความหนาแน่นสูง และการที่คลื่นทุติยภูมิสามารถเดินทางในชั้นเนื้อโลกได้ย่อมแสดงว่า
ชั้นเนื้อโลกเป็นของแข็ง ส่วนประกอบของชั้นเนื้อโลกมีการเปลี่ยนแปลงบ้างทั้งในแนวดิ่งและในแนวราบ แต่อย่างไรก็ดีส่วนประกอบ
ของชั้นเนื้อโลกยังมีลักษณะเป็นเนื้อเดียวมากกว่าชั้นเปลือกโลก ชั้นเนื้อโลกแบ่งออกได้เป็น 2 ส่วน 
1. ชั้นเนื้อโลกส่วนบน (upper mantle) ประกอบด้วย dunite, echogite และ peridotite 
2. ชั้นเนื้อโลกส่วนล่าง (lower mantle) ประกอบด้วยสารจำพวก oxides และ silicate

2 ความคิดเห็น:

  1. ให้คะแนนตัวเองค่ะ

    1. ทำครบตามที่กำหนด ข้อละ 2 คะแนน = 12 คะแนน
    2. มีเฉลยให้ข้อละ 1 คะแนน = 8 คะแนน
    3. บอกที่มาของแหล่งข้อมูล ให้ 2 คะแนน( URL) = 16 คะแนน
    4. วิเคราะห์ข้อมูล สืบค้นได้ตรงประเด็นให้คะแนนตั้งแต่ 1 - 5 คะแนนตามความเหมาะสม = 37 คะแนน

    รวม 73 คะแนน

    ตอบลบ