วันอาทิตย์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2554

กิจกรรม 31 มกราคม - 4 กุมภาพันธ์ 2554 คะแนน 120 คะแนน





ข้อ 45 ตอบ 4. 25 s
  อัตราเร็วของรถยนต์คงที่มา 20 เมตรต่อวินาที และระยะทางที่รถยนต์เคลื่อนที่ได้ 500 เมตร และโจทย์ต้องการหาเวลาที่รถยนต์เคลื่อนที่เป็นเวลาเท่าใด
เราสามารถใช้สูตรการเคลื่อนที่ด้วยอัตราเร็วคงที่ได้เลย
                                                              
                       เมื่อ v = 20 m/s  ,s = 500 m , t = ?  s
จะได้    20 = 500/t
t   = 500/20
t  = 25 วินาที
ดังนั้นคำตอบคือข้อ ง.



ข้อ 46 ตอบ 4.
จากสมการ T=2π√(l/g) จะได้ว่า T เป็นปฏิภาคโดยตรงกับ √l และ T2 เป็นปฏิภาคโดยตรงกับ l ดังนั้นคำตอบเป็น ข้อ ก. ครับ
2. การเคลื่อนที่แบบโพรเจคไทล์ เมื่อวัตถุเคลื่อนที่ขึ้นไปถึงตำแหน่งสูงสุดอัตราเร็วของวัตถุจะเป็นอย่างไร



ข้อ 47 ตอบ 4.สนามฟ้าที่ A มีค่าเท่ากับสนามไฟฟ้าที่ B
      สนามไฟฟ้าจะมีทิศพุ่งออกจากประจุบวกและประจุลบเสมอ ประจุเหมือนกันอยู่ใกล้กันจะผลักกัน และประจุต่างกันจะเกิดแรงดูดกันครับ ส่วนสนามไฟฟ้า ณ จุดใด ๆ ที่สนามส่งไปถึงจะมีค่าของสนามเท่ากัน ส่วนความเข้มของสนามหาได้จาก E = Kq/r2 ดังนั้นข้อที่ถูกคือข้อ ง.



ข้อ 48 ตอบ 1. 2.5 Hz
   จากโจทย์ที่อ่านนะครับ บางคนตกใจแล้วคิดว่าเป็นการเคลื่อนที่แน่นอนเลย แต่ก็ไม่เป็นอย่างที่คิดแค่การหาความถี่ของคลื่นนั้นเอง ลองอ่านเรื่องความถี่ดี ๆ นะครับ ก็จะรู้ว่า ความถี่หาได้จากจำนวนรอบหารด้วยเวลานั่นเองครับ เพราะฉะนั้นคำตอบคือ 2.5 Hz ครับ ไม่ยากเลยนะครับ  คำตอบคือข้อ ก.


ข้อ 49 ตอบ 2. ความยาวคลื่นในน้ำลึกมากกว่าความยาวคลื่นในน้ำตื้น
   คือสมบัติการหักเหนั่นเองครับดังนี้  (เมื่อคลื่นเคลื่อนผ่านตัวกลางต่างชนิดกันจะทำให้ความเร็วของคลื่นและความยาวคลื่นเปลี่ยนแปลงแต่ความถี่คงเดิม โดยพบว่าคลื่นเคลื่อนที่ในทิศไม่ตั้งฉากกับรอยต่อของตัวกลางโดยความเร็วคลื่น ความยาวคลื่นเปลี่ยน)   แล้วเราลองมาวิเคราะห์แต่ละข้อ
ก. อัตราเร็วคลื่นในน้ำลึกน้อยกว่าอัตราเร็วคลื่นในน้ำตื้น (น้ำลึกมีความหนาแน่นมากกว่าดังนั้นตัวกลางที่มีความหนาแน่นมากกว่าย่อมมีอัตราเร็วในตัวกลางมากกว่าครับ) ดังนั้นข้อนี้ผิด
ข.ความยาวคลื่นในน้ำลึกมากกว่าความยาวในน้ำตื้น (จากความหมายของการหักเห และตามสมการ v=λf เมื่อความถี่คงที่ น้ำลึกจะมี อัตราเร็วกว่าน้ำตื้นดังนั้นความยาวคลื่นน้ำลึกย่อมยาวกว่าน้ำตื้น) ดังข้อนี้ถูกต้อง
ส่วนข้อ ค. และ ข้อ ง. เป็นดังที่กล่าวมาแล้วคือ ความถี่คงที่ดังนั้นทั้งสองข้อจึงผิด




ข้อ 62 ตอบ 3. 4.0 m/s
โดยการหาค่าเฉลี่ยเช่นเดี่ยวกับพีชคณิตทั่วไปเนื่องจากเป็นปริมาณสเกลาร์
 เมื่อ v1 = 6 m/s , v2 = 5 m/s , v3 = 1 m/s และเวลา  3 นาที ตัวเลขที่หารในที่นี้เป็นจำนวนครั้งนะครับ
                                                   จะได้    อัตราเร็วเฉลี่ย  =  (6+5+1)/3
                                                   อัตราเร็วเฉลี่ย  = 4.0 เมตรต่อวินาที  
                         ดังนั้นคำตอบคือข้อ ค.



ข้อ 63 ตอบ 2. 65 km
      ตอบ 65 กิโลเมตรครับ หรือนักเรียนลองจำง่าย ๆ คือ ระยะทางคือระยะที่วัตถุเคลื่อนที่ได้ทั้งหมด ณ เวลานั้น ๆ ส่วนระยะกระจัดคือทางลัด หรือระยะทางที่สั้นที่สุดที่วัตถุนั้นเคลื่อนที่วัดจากจุดเริ่มต้นถึงจุดสุดท้ายเป็นเส้นตรงนะครับ  ดังนั้นคำตอบคือข้อ ข.




ข้อ 64 ตอบ 3. 08.30 น.
      เราสามารถใช้สูตรการเคลื่อนที่ด้วยอัตราเร็วคงที่ได้เลย

                      เมื่อ   v = 80 km/hr ,  s = 200 km , t = ? hr         
                       จะได้   80 = 200/t


ข้อ 65 ตอบ 3. Aและ B มีประจุบวก แต่ C มีประจุลบ
กรณีที่ 1 A และ B เป็น ลบ จะได้ C เป็น บวก


ข้อ 66. ตอบ 2. ความเร็วเพิ่มขึ้นอย่างสม่ำเสมอ
วัตถุหล่นจากที่สูงด้วยความเร่งคงที่ คือ ค่าของ g เพราะฉะนั้น ความเร็วที่เกิดขึ้นก็ควรที่จะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องตามความหมายของความเร่งนั่นเอง ดังนั้นคำตอบคือข้อ ข.


ข้อ 67 ตอบ 1. 0.5 s
โจทย์ให้ ความเร็วต้น คือ u = 4.9 m/s
ณ จุดสูงสุดเรารู้ค่าของความเร็วปลาย คือ v = 0 m/s
ค่าของความเร่งคือค่าของ g มีค่าเป็นลบเนื่องจากเคลื่อนที่ตรงข้ามกับ u มีค่า g = - 10 m/s2
โจทย์ต้องการหาค่าของ เวลาคือค่าของ t
เพราะฉะนั้นสิ่งที่เรารู้          u = 4.9 m/s , v = 0 m/s , g = -10 m/s2 , t = ? s
เราสารมารถใช้ สูตร                 v = u + gt
จะได้                                0 = 4.9 + (-10)t
t = 0.49 s
ดังนั้นคำตอบคือข้อ ก. 0.5 วินาที


ข้อ 68. ตอบ 3. มีค่าเท่ากับอัตราเร็วแนวราบเมื่อเริ่มเคลื่อนที่
ณ จุดสูงสุดของการเคลื่อนที่แบบโพรเจคไทล์ จะได้ปริมาณต่าง ๆ ในแนวดิ่ง ดังนี้ ความเร่งเท่ากับ
g ความเร็วมีค่าเท่ากับ 0 เมตรต่อวินาที  ดังนั้นคำตอบคือข้อ ค.
กรณีที่ 2 A และ B เป็น บวก จะได้ C เป็นลบ
จะเห็นได้ว่า ข้อ ค. ถูกต้อง
3. ถ้ามีอนุภาคมีประจุไฟฟ้า +q อยู่ในสนามไฟฟ้าระหว่างแผ่นคู่ขนานดังรูป ถ้าเดิมอนุภาคอยู่นิ่ง ต่อมาอนุภาคจะเคลื่อนที่อย่างไร

ก. ทิศ +X ด้วยความเร่ง
ข. ทิศ -X ด้วยความเร่ง
ค. ทิศ +Y ด้วยความเร่ง
ง. ทิศ -Y ด้วยความเร่ง
แนวคำตอบ จากเหตุผลข้อที่ 1 ที่บอกว่า ประจุต่างกัน ดูดกัน ประจุเหมือนกัน ผลักกันครับ ดังนั้นคำตอบคือ ข้อ ง.
t  = 2.5 ชั่วโมง
ดังนั้นคำตอบคือข้อ ค.
ก. มีค่าเป็นศูนย์
ข. มีอัตราเร็วแนวราบเป็นศูนย์
ค. มีค่าเท่ากับอัตราเร็วแนวราบเมื่อเริ่มเคลื่อนที่
ง. มีค่าเท่ากับอัตราเร็วเมื่อเริ่มเคลื่อนที่
แนวคำตอบ จากตัวเลือกที่ให้มานั้น
ข้อ ก. มีค่าเป็นศูนย์ บอกไม่ชัดเจนว่าเป็นการเคลื่อนที่ในแนวราบหรือแนวดิ่ง
ข้อ ข. อัตราเร็วแนวราบไม่เป็นศูนย์ครับ อัตราเร็วแนวราบเท่ากับอัตราเร็วเริ่มต้น
ข้อ ค. ข้อนี้ถูกต้องที่สุดครับ ถ้าคิดในแนวราบอัตราเร็วในแนวราบที่ตำแหน่งสูงสุดจะมีค่าเท่ากับอัตราเร็วเริ่มต้นครับ
ข้อ ง. อัตราเร็วในที่นี้ไม่ได้ระบุว่าเป็นแนวราบหรือแนวดิ่ง ดังนั้นถ้าพูดถึงอัตราเร็วแนวราบจะเท่ากับอัตราเร็วเริ่มต้น แต่ถ้าพูดถึงอัตราเร็วในแนวดิ่งจะมีค่าเป็นศูนย์

วันอาทิตย์ที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2553

ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง

สาระ วิทยาศาสตร์เพื่อชีวิต 2 รหัส ว 42282 ช่วงชั้นที่ 4 ภาคเรียนที่ 2 ระดับชั้น ม. 5
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังรายภาค
1. สืบค้นข้อมูล อภิปรายและอธิบายลักษณะและโครงสร้างของโลก
2. สำรวจ สืบค้นข้อมูล ทางด้านธรณีวิทยาในท้องถิ่น อธิบายการเปลี่ยนแปลงทางธรณีภาค
3. สำรวจ ตรวจสอบ สืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับปรากฏการณ์ทางธรณี ความสำคัญ ผลต่อสิ่งมีชีวิต
    สิ่งแวดล้อมและการนำไปใช้ประโยชน์
4. สืบค้นข้อมูล และอธิบายการศึกษาประวัติทางธรณีจากซากดึกดำบรรพ์ การเปรียบเทียบลำดับ
    ชั้นหิน และอายุของหิน
5. สืบค้นข้อมูล และอธิบายการเกิดและวิวัฒนาการของระบบสุริยะ กาแล็กซีและเอกภพ พลังงานของ
    ดาวฤกษ์ ที่เกิดจากปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชั่น
6. สืบค้นข้อมูล และอธิบายเกี่ยวกับตำแหน่งของโลกในระบบสุริยะและกาแล็กซี
7. สืบค้นข้อมูล และอธิบายเกี่ยวกับความก้าวหน้าของเทคโนโลยีอวกาศและโครงการอวกาศที่สำคัญ
8. สืบค้นข้อมูล และนำเสนอการใช้ประโยชน์ ของความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีอวกาศ ในการศึกษา 
    ปรากฏการณ์ต่างๆ บนโลก ทำให้มีความรู้เกี่ยวกับอดีต และแนวโน้มของการเปลี่ยนแปลงลักษณะ
    ต่างๆบนโลก
9. ทดลองและอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างการกระจัด เวลา ความเร็ว ความเร่งของการเคลื่อนที่ใน
    แนวตรง
10. คำนวณหาปริมาณที่เกี่ยวข้องของการเคลื่อนที่ในแนวตรง
11. สำรวจ ตรวจสอบและอธิบายการเคลื่อนที่แบบโพรเจกไตล์และการใช้ประโยชน์
12. สำรวจ ตรวจสอบและอธิบายการเคลื่อนที่แบบวงกลม และการใช้ประโยชน์
13. สำรวจ ตรวจสอบและอธิบายการเคลื่อนที่แบบฮาร์มอนิก และการใช้ประโยชน์
14. สำรวจ ตรวจสอบ วิเคราะห์และอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างแรง การเคลื่อนที่ของอนุภาคหรือ
      วัตถุในสนามโน้มถ่วง และการนำไปใช้ประโยชน์
15. สำรวจ ตรวจสอบ วิเคราะห์และอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างแรง การเคลื่อนที่ของอนุภาคหรือ
      วัตถุในสนามไฟฟ้า รวมทั้งการนำไปใช้ประโยชน์
16. สำรวจ ตรวจสอบ วิเคราะห์และอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างแรง การเคลื่อนที่ของอนุภาคหรือ
      วัตถุในสนามแม่เหล็ก และการนำไปใช้ประโยชน์